Skip to content

Commission Consortium | Sensei March (Grade 3) ลงขันประพันธ์เพลง Sensei March เวอร์ชั่นใหม่ เกรด 3

รายชื่อผู้สนับสนุน (Commissioners)

Pipat Tinpang-nga (Sarasas Witaed Nakhonratchasima Wind Symphony) – Consortium Lead

Asyahari Hussaini (Admiralty Secondary School, Singapore)

Course Muse Co., Ltd.

Kreangsak Suwanwela (Wiengsa School Marching Band)

Mintra Puntumas (DP5 Wind Symphonic Band)

Panuwit Sukkhee (Suankularb Wittayalai Nakhon Si Thammarat Marching & Concert Band)

Phatthadon Atantee

Pruetipong Submongkol (Sukprasarnrat School Marching Band)

Theerasak Buarungsawat (Phanatpittayakarn Wind Symphony & Marching Band)

สิทธิพิเศษผู้ร่วม Consortium

1) ได้รับทั้งแบบ Full Band และ Flexible Ensemble

2) ชื่อวงผู้สนับสนุนได้ตีพิมพ์ลงโน้ตเพลงทุกฉบับ

3) สิทธิ์ในการเล่นก่อน* (first performance rights)

*เพลงเวอร์ชั่นใหม่นี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะวงที่ร่วม Consortium ในระยะเวลาตั้งแต่ มกราคม ถึง มิถุนายน 2567

*วงที่เคยซื้อ Sensei March จะได้รับสิทธิพิเศษด้วยเช่นเดียวกัน ยกเว้นข้อ 2

ฟังบทเพลง Sensei March เวอร์ชั่นดั้งเดิม บรรเลงโดย Suranaree Girls Wind Symphony

ผู้ประพันธ์

วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ | Viskamol Chaiwanichsiri

วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ | Viskamol Chaiwanichsiri

นักประพันธ์เพลงชาวไทย เจ้าของเพลง "มาร์ชเจ้าพระยา" และ "โหมโรงรัตนโกสินทร์" บทประพันธ์ของวิษณ์กมลได้ออกแสดงทั่วทวีปเอเซีย ยุโรป รวมถึงในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย โดยวงดุริยางค์ชั้นนำอย่าง Thailand Philharmonic Orchestra, Million Wind Philharmonic, Feroci Philharmonic Society และได้ร่วมแสดงในงานดนตรีนานาชาติอย่าง World Association Of Marching Show Bands World Championship,  International Trumpet Guild, Thailand New Music and Arts Symposium, และ World Saxophone Congress ผลงานดนตรีบางส่วนของวิษณ์กมลได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ระดับนานาชาติร่วมกับสำนักพิมพ์ต่างๆ ได้แก่ Star Music Publishing (Germany), Nexuss Music Publishing (Japan) และ Restel Mil Japan/Bravo-Brain Music (Japan)

Commission Consortium คืออะไร

ปกติแล้วการจ้างประพันธ์เพลงใหม่ (Commission) ค่าจ้างนั้นขึ้นอยู่ที่การตกลงกันระหว่างวงผู้ว่าจ้างกับผู้ประพันธ์ บางครั้งวงดุริยางค์มีความต้องการสนับสนุนการสร้างงานประพันธ์ แต่ด้วยวงดุริยางค์วงเดียวอาจมีกำลังทรัพย์ไม่เพียงพอสำหรับค่าว่าจ้างนี้

Commission Consortium* จึงเป็นการร่วมลงขันของกลุ่มวงดุริยางค์ และ กลุ่มคนที่ต้องการร่วมกันสนับสนุนการสร้างสรรค์งานใหม่ของนักประพันธ์เพลง โดยค่าจ้างประพันธ์สามารถถูกหารเฉลี่ยโดยจำนวนของผู้ที่เข้าร่วม หรือ เป็นการจ่ายค่าจ้างในราคาที่ถูกก็เป็นไปได้

โดยกลุ่มคนที่ร่วมจะได้รับสิทธิ์พิเศษจากผู้ประพันธ์เช่น สิทธิ์ในการเล่นก่อน (first performance rights) ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือ ชื่อวงผู้สนับสนุนได้รับการตีพิมพ์ลงไปในโน้ตเพลงทุกฉบับ เป็นต้น

*“คอน-ซอร์-เชียม” (อ่านแบบอเมริกัน) “คอน-ซอร์-เทียม” (อ่านแบบอังกฤษ)

3
4

สงสัยเพิ่มเติม

ติดต่อเข้ามาทาง Facebook ได้เลยครับ