Compose with Me [Ep.28] | Talk: ดนตรีไทยร่วมสมัย ในอดีตปัจจุบันอนาคต
ในรายการ #ComposeWithMe ในซีซั่นสองนี้ เราได้มีการนำเสนอดนตรีหลายรูปแบบ ซึ่งก็มีนักประพันธ์เพลงชาวไทยหลายท่าน
ในรายการ #ComposeWithMe ในซีซั่นสองนี้ เราได้มีการนำเสนอดนตรีหลายรูปแบบ ซึ่งก็มีนักประพันธ์เพลงชาวไทยหลายท่าน
หากพูดถึงตัวละครที่เป็นที่จดจำในวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์” ก็คงไม่พ้น “หนุมาน” เป็นอย่างแน่ ซึ่งในรายการ #ComposeWithMe ในครั้งนี้ มีกลุ่มศิลปินชาวไทยได้นำเรื่องราวความตาย และ ฟื้นคืนชีพของหนุมาน มาตีความผ่านเป็นงานแสดงดนตรี Saxophone Quartet, ขลุ่ย และ เสียง Electronic บรรเลงร่วมกับงาน Visual Arts และ Performance Arts อย่างโขน และ การเต้นรำร่วมสมัย
หากจะพูดถึงวรรณคดีในประเทศไทย หลายท่านคงคุ้นหูกับเรื่อง “พระอภัยมณี” โดยพระสุนทรโวหาร (ภู่) ซึ่งภายในวรรณคดีนี้ก็มี ตัวละคร เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นที่น่าจดจำ และ ถูกนำไปดัดแปลงไปยังสื่ออื่น ทั้งละคร ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น และ อื่นๆ มากมาย
Compose with Me [Ep.25] | Breakdown: เมดเลย์เพลงครูหลวงประดิษฐไพเราะ Breakdown: เมดเลย์เพลงครูหลวงประดิษฐไพเราะ Creator: นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล และ ณัฐวัชร์ เตชะนพดล เนื่องในวันครบรอบ 140 ปีชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้มีกลุ่มนักดนตรีรุ่นใหม่ได้นำบทเพลงต่างๆ ที่ประพันธ์โดยครูหลวงประดิษฐไพเราะมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันในลักษณะของเพลงเมดเลย์ ผ่านกระบวนเรียบเรียงที่หลากหลาย ทั้งประยุกต์เทคนิคดนตรีตะวันตกอย่างการบรรเลงสอดประสานกัน และ เทคนิคดนตรีตะวันออกอย่างการพิจารณาโน้ตในบทเพลงเพื่อการเชื่อมท่อนเข้าด้วยกัน หรือ การเปลี่ยนบันไดเสียงในบทเพลงอย่างแนบเนียนตามบริบทของบทเพลง และที่น่าสนใจยังมีการทดลองประยุกต์นำลักษณะการบันทึกโน้ตแบบตะวันตกมาใช้ร่วมกับการบันทึกโน้ตดนตรีไทยด้วย! โดยผู้ที่จะมาเล่าเกี่ยวกับเมดเลย์เพลงนี้ได้แก่ นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล (ผู้ก่อตั้งวงซอผสมผสานสยามหูฉิน, Producer/Sound engineer – Melocity, อาจารย์พิเศษวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล) และ ณัฐวัชร์ เตชะนพดล (สมาชิกวงเภตรา คณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตสมาชิกวงดนตรีไทยโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ, ชมรมดนตรีไทยสโมสรนิสิตจุฬา) ฟังเพลงฉบับเต็ม: https://bit.ly/3iihqan การนำหลายบทเพลงมาเรียงร้อยให้ลื่นไหลเป็นอย่างไรเทคนิคการประพันธ์เพลง/เรียบเรียงเพลงดนตรีไทยเป็นอย่างไรการนำเครื่องดนตรีท้องถิ่นมาบรรเลงร่วมกันเป็นอย่างไรใครที่สนใจในทำนองไทยในเครื่องดนตรีท้องถิ่น ห้ามพลาด! วันศุกร์ 6 สิงหาคม 19:30 น. […]
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และ ดนตรีก็เป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กัน ทั้งในแง่วัฒนธรรมดั้งเดิม หรือ วัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งหลายท่านน่าจะได้เห็นกันแล้วในงานเปิดโอลิมปิค 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งด้วยวัฒนธรรมที่น่าสนใจทำให้อิทธิพลของดนตรีญี่ปุ่น เกิดขึ้นต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะในนักประพันธ์เพลงในช่วงศตวรรษที่ 20 จนถึงวัฒนธรรม Pop-Culture ในปัจจุบันนี้ ซึ่งใน #ComposeWithMe ครั้งนี้ เราจะมาชมผลงานสามผลงานของนักประพันธ์เพลงชาวไทยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสุนทรียศาสตร์ฉบับญี่ปุ่น
ล้านนา อาณาจักรที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทั้งตำนานขับขาน เรื่องราวที่น่าสนใจ ในรายการ #ComposeWithMe ในครั้งนี้จะมาพบกับเพลง เรื่องเล่าตำนานล้านนา (Ballad of Lanna) สำหรับเครื่องดนตรีท้องถิ่นล้านนา บรรเลงร่วมกับวงออร์เคสตรา โดยเพลงนี้เป็นส่วนหนึ่งใน “โครงการพัฒนานวัตกรรมดนตรีล้านนาสร้างสรรค์” ของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยบทเพลงกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอาณาจักรล้านนา โดยแบ่งเป็น 4 องก์ ตามเหตุการสำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ล้านนา ได้แก่ พยุหยาตรา, ล้านนาสมโภชน์, พิโรธหงสา และ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
ในปัจจุบันนี้มีวงวินด์กำเนิดเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทย ทั้งในระดับสถานศึกษาอย่างโรงเรียน และ มหาวิทยาลัย หรือ ในวงชุมชน วงมืออาชีพต่างๆ เมื่อมีวงมากขึ้น ก็เป็นโอกาสอันดีสำหรับนักประพันธ์เพลงในการสร้างสรรค์ผลงานและมีพื้นที่ในการแสดงมากขึ้น อย่างไรก็ตามวงแต่ละประเภทก็ย่อมมีลักษณะที่ต่างกัน โดยเฉพาะในวงระดับสถานศึกษาที่มีนักเรียนหลากหลายกันไป แล้วนักประพันธ์จะสร้างสรรค์เพลงยังไงให้เข้ากับวงนักเรียนดีล่ะ?
“เมื่อลมหนาวพัดมาเยือนในช่วงปลายปี ย่านเมืองเก่าใจกลางกรุงเทพมหานครอย่างเขตพระนคร มักเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่ผู้คนจะพากันไปพักผ่อนหย่อนใจ สนามหลวง แม่นํ้าเจ้าพระยา วัดวาอาราม พระราชวัง โบราณสถานและสถานที่สําคัญต่าง ๆ …” นี่เป็นส่วนหนึ่งจากคำอธิบายบทเพลง “Pra Nakorn Overture” ซึ่งเป็นบทเพลงวง Wind Ensemble ออกแบบมาสำหรับใช้บรรเลงโดยวงระดับกลาง
ทุกท่านเคยสงสัยกันไหมว่า ดนตรี กับ บทกวี ไปด้วยกันได้อย่างไร มีนักประพันธ์เพลงมากมายตั้งแต่สมัยคลาสสิก ที่ได้ประพันธ์ดนตรีขึ้นจากภาพประทับใจในคำกลอน สรรค์สร้างขึ้นมาเป็นบทเพลงตามภาษาดนตรีของตนเอง #ComposeWithMe ในครั้งนี้ มีบทเพลงที่ผู้ประพันธ์ขึ้นมาใหม่ชื่อ “Recite” สำหรับ Percussion Ensemble และ ผู้ขับกวี โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวี “มองโลก-มองเรา” โดยกวีชาวไทยนามปากกาว่า “นายทิวา”
#ComposeWithMe #Live ในครั้งนี้ เรามากับโปรแกรมบันทึกโน้ตที่ว้าวซ่า เป็นที่กล่าวถึงในช่วงนี้อย่าง “Dorico” ว่ากันว่าโปรแกรมนี้สามารถทำให้ประสบการณ์ในการบันทึกโน้ต และ จัดการตัวโน้ตเป็นไปได้โดยง่ายดาย ซึ่งในครั้งนี้มีแขกมาร่วมเป็นบุคคลสองท่านที่ได้แนะนำถึงเรื่องของ Dorico อย่างต่อเนื่องบนช่องทางออนไลน์ ได้แก่ ดร. ต้นเถา ช่วยประสิทธิ์ (อาจารย์ประจำภาควิชาทฤษฎีดนตรีและโสตทักษะ ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซีคอนบางแค) และ รุ่งรดิศ จันทร์จำปา (Assistant Conductor, Arranger & Composer, Thai Youth Winds) นั่นเอง!